คณิตศาสตร์กับดนตรี




คณิตศาสตร์กับดนตรี



นตรีเป็นสิ่งที่เข้ามาผูกพันกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ มนุษย์ได้ยินเสียงจากธรรมชาติ และดัดแปลงนำเอาอุปกรณ์จากธรรมชาติมาสร้างเสียงดนตรี และยังพยายามเลียนแบบการสร้างสัญญาณเสียงดนตรีโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การใช้อิเล็กทรอนิกส์สร้างสัญญาณเสียงโดยตรง            เครื่องดนตรีที่ใช้มีทั้งแบบที่เป็น เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า ทั้งหมดให้เสียงออกมาและมีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งแตกต่างกันไป
            ดนตรีจึงเกี่ยวพันกับคณิตศาสตร์อยู่มากพอ  เพราะการที่มีเสียงปรากฏออกมา เสียงแต่ละตัวโน้ตผูกพันสร้างความไพเราะ จึงจำเป็นต้องมีหลักการและหารูปแบบที่เหมาะสม เช่นในปัจจุบันมีการสร้างฟอร์แมต MIDI ซึ่งทำให้ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถสร้างเสียงดนตรีหลายชิ้น ประสานเสียงกันได้อย่างไพเราะ การสร้างเพลงหนึ่ง ๆ จึงขึ้นกับ จังหวะ และการวางตัวโน้ต โทน ตามตัวโน้ต  และการผสมประสานเสียง






จังหวะและการวางตัวโน้ต  
            จังหวะเป็นพื้นฐานของดนตรีที่กำหนดช่วงเวลา ซึ่งเกี่ยวพันกับคณิตศาสตร์โดยตรง เมื่อเราเล่นดนตรี เราจะต้องสร้างเสียงดนตรีให้ลงไปในช่วงจังหวะได้อย่างถูกต้อง
            จังหวะที่ใช้มีทั้งจังหวะช้า และเร็ว เพลงบางเพลงเมื่อเราฟังแล้วรู้สึกเย็นสบายผ่อนคลาย บางเพลงมีลักษณะเร่าร้อนสร้างอารมณ์ให้อยากเต้นรำ จังหวะจึงมีส่วนสำคัญในการสร้างความรู้สึกและอารมณ์
            เมื่อจังหวะเป็นหน่วยวัดเวลา การกำหนดจังหวะมีการใช้ตัวบอกจังหวะซึ่งเรียกว่า time signature
            time signature จะปรากฏอยู่ที่ตอนต้นของบรรทัดที่จะบอกว่าในแต่ละห้องแบ่งออกเป็นตัวโน้ตขนาด 1  ใน 4 ได้กี่ตัว เช่น

    หมายถึงมีตัวโน้ตแบบ 1 ใน 4 ได้ 3 ตัว       ถ้า       หมายถึงมีตัวโน้ต 1 ใน 4 ได้ 4 ตัว
           ตัวโน้ตที่ใช้ใน time signature แบบ  แบ่งออกเป็น

 ตัวกลม       มีความหมายที่ใช้เป็นสัดส่วนเต็มห้อง
 ตัวขาว       มีความหมายที่ใช้เป็นสองตัวในหนึ่งห้อง  หรือครึ่งเสียงตัวกลม
 ตัวดำ        มีขนาดเสียงลดลงครึ่งหนึ่งของตัวขาว   หรือเป็นตัวขนาด 1 ใน 4
 ตัวขเบ็ดหนึ่งขึ้น        มีขนาดเสียงลดลงครึ่งหนึ่งของตัวดำ
 ตัวขเบ็ดสองขึ้น        มีขนาดเสียงลดลงครึ่งหนึ่งของตัวขเบ็ดหนึ่งขึ้น

ชื่อตัวโน้ต
สัญลักษณ์ตัวโน้ต
การวัดสัดส่วน
จำนวนตัวโน้ต
ที่อยู่ในห้องเสียง
ตัวกลม
1/11 = 20
ตัวขาว
1/22 = 21
ตัวดำ
1/44 = 22
ตัวขเบ็ดหนึ่งชั้น
1/88 = 23
ตัวขเบ็ดสองชั้น
1/1616 = 24
            อย่างไรก็ตามมีการ กำหนดให้เสียงมีความยาวมากกว่าที่กำหนด เช่น

     จุด  มีความหมายถึงครึ่งตัวโน้ตซึ่งตัวขาวเท่ากับ 1/2
ดังนั้น  จึงมีค่าเท่ากับ 1/2 + (1/2 x 1/2) = 3/4


โทนของตัวโน้ต  
            โทนคือความถี่ของการเปล่งเสียงของwbr>เครื่องwbr>ดนตรีนั้น ๆ ต่อความถี่จึงเป็นค่า พิทช์ (pitch) ซึ่งเกิดจากการสั่นของสายwbr>เครื่องwbr>ดนตรี ค่าความสั่นนี้วัดกันในหน่วย เฮิร์ทซ์ หรือจำนวนรอบต่อวินาที ถ้าให้ความยาวของสายที่ใช้สั่นเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว จะทำให้พิทช์ลดลงมาหนึ่งอ็อกเตฟ  มาตรฐานของพิทช์ที่อยู่ตรงกลางใช้ที่ความถี่ 440 เฮิร์ทซ์  โทนจึงเป็นสิ่งที่ผู้ฟังบอกได้ว่าสูงหรือต่ำ
            สำหรับคีย์บอร์ดเช่นเปียโน มีคีย์ทั้งหมด 88 คีย์  ซึ่งเป็นคีย์สีขาวและดำ รูปแบบของแป้นคีย์จะซ้ำทุก ๆ 12 คีย์ ซึ่งในชุด 12 คีย์นี้มีคีย์ขาว 7 คีย์ และดำ 5 คีย์  คีย์ขาว นี้มีชื่อ A ถึง G ส่วนคีย์ดำมีการเรียกว่า ชาร์ป () และ แฟลต (  ) เราจะใช้ชาร์ปเพื่อเราต้องการเพิ่มสเกล และใช้แฟลตเมื่อต้องการลดสเกลลง เช่น คีย์ระหว่าง F และ G มีคีย์ F ชาร์ป หรือ G แฟลต ขึ้นอยู่กับทิศทางที่ใช้ บางที่เราจะเห็นคีย์ขาวติดกับสองคีย์ และมีสองที่แตกต่างกัน คือ B และ C     E และ F เราสามารถเรียกชาร์ปและแฟลตได้ ดังตัวอย่างเช่น C แฟลต คือ B และ  B ชาร์ป คือ C
            จากที่กล่าวแล้วว่าตรงกลางของ A คือความถี่ 440 Hz และเพื่อให้สเกลใช้งานได้เท่ากัน เราจึงใช้คณิตศาสตร์ทำการแบ่ง โดยใช้ตัวเลขคงที่ คือ 1.059463 เป็นตัวคูณ

ชื่อโน้ตความถี่ต่ำที่ใช้เป็นฐานxค่าคงที่=ความถี่ที่ได้
A3La220.0 Hz
A#3=220x1.059463=233.1 Hz
B3Ti=233.1x1.059463=246.9 Hz
C4Do=246.9x1.059463=261.6 Hz
C#4=261.6x1.059463=277.2 Hz
D4Re=277.2x1.059463=293.7 Hz
D#4=293.7x1.059463=311.1 Hz
E4Mi=311.1x1.059463=329.6 Hz
F4Fa=329.6x1.059463=349.2 Hz
F#4=349.2x1.059463=370.0 Hz
G4So=370.0x1.059463=392.0 Hz
G#4=392.0x1.059463=415.3 Hz
A4La=415.3x1.059463   =      440.0 Hz
            จากหลักการนี้ ทำให้ค่าสองค่าที่โคกันมีสัดส่วนคงที่

 C#/C  มีค่า 1.0594630
            และความถี่ที่ค่าของอ็อกเตฟกัน

  A4/A3   มีค่า  440/220  =  2/1

            จากที่กล่าวแล้วว่า ถ้าทำให้สายเครื่องดนตรีสั้นลงจะได้ความถี่สูงขึ้น  ดังนั้นในความถี่ที่ต่างอ็อกเตฟกัน จะมีอัตราส่วน 2:1  ซึ่งจะต้องทำให้ความยาวสายเป็นส่วนกลับคือ 1:2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น